Lipoprotein(a)

What is Lipoprotein(a)?

มารู้จักตัวละครลับที่เปิดตัวไปเมื่อสัปดาห์ก่อน

♥️ Lp(a) อ่านว่า “L-P-little-A” (แอลพีลิตเติ้ลเอ – ฟังดูน่ารักนะ แต่นิสัยไม่น่ารักเท่าไหร่ 😀) ย่อมาจาก lipoprotein(a) หรือ ไลโปโปรตีนเอ

♥️ Lipoprotein ตามชื่อของมันก็บอกได้ว่า มีส่วนประกอบของไขมัน (lipo-) และ โปรตีน ตัว lipoprotein นี้ จะเป็นตัวพา Cholesterol ลอยไปตามกระแสเลือดในหลอดเลือดทั่วร่างกายของเรา

♥️ถ้าแบ่งชนิดของ lipoprotein ตามความหนาแน่นก็แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ low-density หรือ LDL กับ high-density หรือ HDL สองตัวนี้แตกต่างกันอย่างไรเคยเล่าให้ฟังแล้ว

♥️ Lp(a) เป็น low-density lipoprotein ชนิดหนึ่ง การที่เรามี Lp(a) ในเลือดปริมาณสูงอาจจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดไขมันเกาะผนังหลอดเลือดในหัวใจหรือสมอง(และอวัยวะอื่นๆ)เพิ่มความเสี่ยงหลอดเลือดอุดตัน นอกจากนี้ยังพบว่าเกี่ยวข้องกับการเกิดลิ้นหัวใจตีบ (Aortic stenosis) โดยทำให้ลิ้นหัวใจมีการอักเสบเรื้อรังมีหินปูนมาเกาะจนเกิดลิ้นหัวใจแข็ง

♥️ ปริมาณ Lp(a)สูง (คือ เกิน 125 nmol/L หรือ 50 mg/dl) ส่วนมากนั้นเกิดจากกรรมพันธุ์ โดยพบว่ากลุ่มคนที่มีโรคคอเลสเตอรอลสูงชนิดกรรมพันธุ์ (Familial hypercholesterolemia, FH) ตรวจพบว่ามี Lp(a)สูง ได้มากกว่าในกลุ่มคนที่ไม่เป็นโรคนี้

♥️ การตรวจวัดค่า Lp(a)ในเลือดนั้นทำไม่ง่าย เนี่องจากโครงสร้างของมันซับซ้อน จึงทำให้ไม่ได้มีการตรวจกันอย่างแพร่หลาย แพทย์จะต้องส่งตรวจกับแล็บที่ได้รับการรับรอง

♥️ การวัดค่า LDL-cholesterol ที่เราทำกันอยู่นั้นวัดรวม cholesterol ที่อยู่ใน Lp(a) ด้วย แต่เราไม่สามารถบอกได้ ว่า cholesterol ที่วัดได้อยู่ใน LDL หรือ Lp(a) มากกว่ากัน

♥️ ในคนไข้บางคนเมื่อได้ยาลด cholesterol กลุ่ม statin (คือยาที่มีชื่อสามัญสะกดลงท้ายด้วย -statin) แล้วไม่ค่อยตอบสนองเท่าไหร่ สาเหตุหนึ่งอาจจะเป็นเพราะ cholesterol ที่วัดได้ ส่วนมากอยู่ใน Lp(a) ไม่ได้อยู่ใน LDL ก็ได้ ยากลุ่ม statin นั้นไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการลด Lp(a) ดังนั้นเมื่อวัดค่าLDL-cholesterol ซ้ำแล้วพบว่าไม่ค่อยลดลง

♥️ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า LDL-cholesterol ไม่ลดจะไปโทษ Lp(a) เราอาจจะยังควบคุมอาหารไม่ดีพอ ออกกำลังกายน้อยไป หรือกินยาไม่สม่ำเสมอ

♥️ ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอนว่าข้อบ่งชี้ของการตรวจคัดกรองระดับ Lp(a) มีอะไรบ้าง ผู้เชี่ยวชาญยังให้ความเห็นที่แตกต่างกัน

♥️ The National Lipid Association ได้กล่าวไว้ว่า ข้อบ่งชี้ที่สมเหตุสมผลในการคัดกรองมีดังนี้

✳️ คนที่เป็นหรือมีสมาชิกสายตรงในครอบครัว (พ่อ แม่ พี่ น้อง) เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดสมองตีบขณะมีอายุน้อย (นัอยกว่า 55 ปีในเพศชาย หรือ น้อยกว่า 65 ปีในเพศหญิง)

✳️ คนที่มี LDL-cholesterol สูง 190 mg/dL ขี้นไป

✳️ คนที่สงสัย โรคคอเลสเตอรอลสูงชนิดกรรมพันธุ์ (Familial hypercholesterolemia, FH) โดยการตรวจคัดกรองจะขึั้นกับการพิจารณาของแพทย์เป็นรายๆไป

♥️ ส่วนการรักษาภาวะ Lp(a) หมอขอไม่กล่าวถึงเนื่องจากยังต้องรอหลักฐานจากงานวิจัยเรื่องยาที่ออกฤิทธิ์ลด Lp(a) โดยเฉพาะ หลักๆ แล้วการรักษาจะเริ้มต้นที่การควบคุม LDL-cholesterol ให้ได้ตามเป้าหมายตามแพลนการรักษาของแพทย์ประจำตัว

‼️ หมายเหตุ ข้อมูลทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลทั่วไป ไม่ถือเป็นการให้การวินิจฉัยและรักษาส่วนบุคคล ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวหากมีข้อสงสัยโดยเฉพาะในกรณีฉุกเฉิน

Add Your Comment

Let's connect

icons8-facebook-48 icons8-instagram-48 icons8-tiktok-48 icons8-youtube-48 icons8-line-48

Dr. Patarapha Wongsaroj
Telephone & Text: 1 (818) 208-1189
Telephone: 1 (818) 653-4889
Email: info@drwongsaroj.com

Let's connect

icons8-facebook-48 icons8-instagram-48 icons8-tiktok-48 icons8-youtube-48 icons8-line-48

General conditions: photo 1 Image by Drazen Zigic on Freepik
Common infections: photo 2 Image by Drazen Zigic on Freepik
Kidney-related conditions: photo 3 Image by Drazen Zigic on Freepik
Women's health/Men's health: photo 4 Image by Drazen Zigic on Freepik

Dr Patarapha Wongsaroj © 2024. All Rights Reserved Terms of Use. Privacy Policy. Notice of privacy practices (ENG l TH).